วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2557

10 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ในไทย



10 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ในไทย 


อันดับ 1 อุทยานแห่งชาติ ถ้ำปลา – น้ำตกผาเสื่อ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
และแล้วก็มาถึง สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมจากจำนวนคลิกของคนดูมากที่สุดในปี 2013 นั่นคือ อุทยานแห่งชาติ ถ้ำปลา – น้ำตกผาเสื่อ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ อากาศเย็น สดชื่น ตลอดทั้งปี โดยมีจุดท่องเที่ยวสำคัญคือ ถ้ำปลา ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขามีลักษณะเป็นแอ่งน้ำขนาดใหญ่ เป็นสถานที่ที่มีความพิเศษ แตกต่างไปจากสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ก็คือ มีบรรดาหมู่ปลาจำนวนมากที่มาอยู่อาศัยในถ้ำแห่งนี้ ได้แก่ ปลามุง ปลาคัง หรือปลาพลวง เป็นปลามีเกล็ดขนาดใหญ่ และหายากมากที่อยู่ในสถาพแวดล้อมแบบนี้

10 สถานที่ ท่องเที่ยวยอดนิยมในไทย โดย Travel MThai

อันดับ 2 สวนน้ำ ซานโตรินี วอเตอร์ แฟนตาซี ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
มาถึงสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์กันบ้าง ที่ได้รับความนิยมจากสมาชิกผู้อ่าน นั่นคือ สวนน้ำ ซานโตรินี วอเตอร์ แฟนตาซี ที่อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี สวนน้ำน้องใหม่และมาแรงของปีนี้ ที่มีเครื่องเล่นมากมาย ให้นักท่องเที่ยวได้สนุก ปนตื่นเต้น และสดชื่นไปพร้อมกัน.. ใครชอบกิจกรรมสนุกๆ ท้าทาย งานนี้ห้ามพลาดเลยทีเดียว!


อันดับ 3 ภูป่าเปาะ หรือ ฟูจิเมืองเลย จังหวัดเลย
ภูป่าเปาะ
 แหล่งท่องเที่ยวน้องใหม่ในจังหวัดเลย ที่ให้ทัศนียภาพในการชมภูหอ ได้สวยงาม ตระการตา โดยเฉพาะในช่วงเวลายามเช้า ก่อนแสงของวันใหม่กำลังจะขึ้น นักท่องเที่ยวจะได้เห็นยอดของภูหอที่สูงเสียดฟ้า อยู่ท่ามกลางกลุ่มหมอกและก้อนเมฆ ให้อารมณ์เหมือนได้เห็นภูเขาไฟ ฟูจิยาม่า จากประเทศญี่ปุ่น



อันดับ 4 ทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี
ทองผาภูมิ
 เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทางภูมิประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ป่าไม้ ทุ่งหญ้า หุบเขา และแหล่งน้ำสำคัญ นอกจากธรรมชาติสมบูรณ์แล้ว ยังอากาศดีอีกด้วย ยิ่งช่วงหน้าหนาวไม่ต้องบอกเลยว่า “ทองผาภูมิ มันหนาวมาก” โดยมี เหมืองปิล๊อก จุดแลนด์มาร์คของที่นี่ ที่ทุกคนไม่ควรพลาดมาเยือน!





อันดับ 5 อ.สวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
อำเภอสวนผึ้ง
 ยังคงได้รับความนิยมอย่างไม่เสื่อมคลาย เนื่องจากเป็นสถานที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ใช้เวลาเดินทางไม่มาก แถมในพื้นที่อ.สวนผึ้ง มีความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ และภูมิอากาศอีกด้วย ถ้าใครอยากจะไปสัมผัสอากาศหนาวเหมือนอยู่บนดอย หรือภูสูงๆ ในอ.สวนผึ้ง ที่ เขากระโจม ก็ให้บรรยากาศแบบนี้ได้นะ

10 สถานที่ ท่องเที่ยวยอดนิยมในไทย โดย Travel MThai

อันดับ 6 ตลาดร่มหุบ จังหวัดสมุทรสงคราม
ตลาดร่มหุบ
 หรือ ตลาดแม่กลอง น่าจะเป็นสถานที่จับจ่ายสินค้าที่ชวนหวาดเสียวที่สุดในโลก ไม่น่าจะเกินจริงแต่อย่างใด เพราะเหล่าบรรดาแม่ค้าพ่อค้า ต่างตั้งแผงสองข้างทางรถไฟ ส่วนลูกค้าก็อาศัยทางรถไฟนี่ล่ะเป็นถนน ไว้เดินดูของกินของใช้ และความระทึกยังไม่สิ้นสุดลงแค่นี้ ในเมื่อรถไฟมา พ่อค้าแม่ค้าก็รีบเก็บร้าน และหุบร่มของตน เมื่อขบวนรถผ่านไป จึงจะกางร่ม ซึ่งระยะห่างระหว่างรถไฟกับแผงร้านค้าห่างกันไม่ถึง 2 เมตร ด้วยซ้ำ!
10 สถานที่ ท่องเที่ยวยอดนิยมในไทย โดย Travel MThai

อันดับ 7 หมู่บ้านคีรีวง จังหวัดนครศรีธรรมราช
หมู่บ้านคีรีวง
 เป็นชุมชนเก่าแก่ในบริเวณเชิงเขาหลวง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช นักท่องเที่ยวหลายๆ คน ที่ได้ไปเยือนหมู่บ้านแห่งนี้ ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า สวยงาม สงบท่ามกลางหุบเขา และที่สำคัญอากาศสดชื่นบริสุทธิ์มาก เหมาะสำหรับผู้ต้องการความสงบ เพื่อหลีกหนีความวุ่นวายในเมืองใหญ่
10 สถานที่ ท่องเที่ยวยอดนิยมในไทย โดย Travel MThai

อันดับ 8 เกาะไหง จังหวัดตรัง
เกาะไหง นั่นอยู่ที่ไหน? 
เป็นคำถามที่ทุกคนอยากรู้.. เพราะอย่างน้อยหลายคนก็ยังไม่ทราบว่า ทะเลสวย สงบ ชื่อชวนน่าฉงน อยู่ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จังหวัดตรัง ในปัจจุบัน เกาะไหง ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวมากขึ้น…

10 สถานที่ ท่องเที่ยวยอดนิยมในไทย โดย Travel MThai

อันดับ 9 เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
นักท่องเที่ยวชาวไทย ยังคงหวั่นกลัวจากเหตุการณ์ท่อส่งน้ำมันดิบ ได้รั่วไหลลงบริเวณทะเล ในจังหวัดระยองทำให้ใครหลายคนไม่กล้าที่จะไปเที่ยวที่เกาะเสม็ดกัน อยากจะบอกว่า ทุกวันนี้ เกาะเสม็ด ได้กลับมาใสสะอาด น้ำน่าเล่นแล้วนะ และยังได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติเหมือนเดิม แต่ที่ไม่เหมือนเดิม คือ คนไทย ที่ยังไม่มาเที่ยวกันมากขึ้นนั้นเอง!
10 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม ในไทย โดย Travel MThai

อันดับ 10 โมโกจู อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดกำแพงเพชร
หลังจากที่มีกระแสต่อต้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ นับวันทำให้สถานที่แห่งนี้ได้รับความสนใจของนักท่องเที่ยวมากขึ้น เพราะอยากรู้ว่า ที่แห่งนี้มีความสำคัญอย่างไร? และธรรมชาติที่สมบูรณ์ก็ชวนให้เหล่าแบ็คแพ็คเกอร์ ต้องเก็บกระเป๋าไปเที่ยวแล้วล่ะซิ


การแต่งกายประจำชาติไทย

การแต่งกายประจำชาติไทย

สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า "ชุดไทยพระราชนิยม"
                 โดยชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษ
จะเรียกว่า "เสื้อพระราชทาน"     
สำหรับสุภาพสตรีจะเป็นชุดไทย
                 ที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า
 
มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด
                ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง
                
ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควรความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรง
                ของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้
 
ชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้
         1. ชุดไทยเรือนต้น 

         2. ชุดไทย

       3. ชุดไทยอมรินทร์

       4. ชุดไทยบรมพิมาน

       5. ชุดไทยจักรี

       6. ชุดไทยจักรพรรดิ

       7. ชุดไทยดุสิต

       8. ชุดไทยศิวาลัย

ราชพฤกษ์

         ราชพฤกษ์ หรือ คูน (อังกฤษGolden showerชื่อวิทยาศาสตร์Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติไทย นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้


ลักษณะ
          ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก

เกี่ยวกับชื่อ

       ชื่อของราชพฤกษ์นั้นมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า คูน เนื่องจากจำง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น คูณ) ทางภาคเหนือเรียกว่า ลมแล้ง ทางภาคใต้เรียกว่า ราชพฤกษ์ ลักเกลือ หรือ ลักเคย ชาวกะเหรี่ยงและในกาญจนบุรีเรียกว่า กุเพยะ

การปลูกและการดูแลรักษา

การปลูก

      ในช่วงแรกๆต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตได้ช้าในระยะเวลาประมาณ 1-3 ปีแรก หลังจากนั้นต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตเร็วขึ้น เปลือกจะเป็นสีน้ำตาลเรียบ มีรากแก้วยาวสีเหลือง และ มีรากแขนงเป็นจำนวนมาก เมื่อต้นราพฤกษ์มีอายุ 4-5 ปี จึงออกดอกและเมล็ด

การดูแลรักษา

  • แสง ต้นราชพฤกษ์ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
  • น้ำ ต้นราชพฤกษ์ต้องการปริมาณน้ำน้อย ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง อายุประมาณ 4 ปี สามารถทนต่อสภาพธรรมชาติได้
  • ดิน ต้นราชพฤกษ์เจริยเติบโตได้ดีดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว
  • ปุ๋ย ต้นราชพฤกษ์นิยมใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในการบำรุงรักษา อัตรา 2-3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง
  • การขยายพันธุ์ ต้นราชพฤกษ์นิยมขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด
  • โรค ต้นราชพฤกษ์ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร
  • ศัตรู ต้นราชพฤกษ์มีศัตรูหนอนเจาะลำต้น (Stem boring caterpillars) จะมีอาการ ลำต้นหรือยอดเป็นรู เป็นรอยเจาะทำให้กิ่งหักงอ
  • การป้องกัน ต้นราชพฤกษ์ควรปลูกโดยรักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก หรือกำจัดแมลงพาหะ ใช้ยาเช่นเดียวกับการกำจัด
  • การกำจัด ต้นราชพฤกษ์นิยมใช้ยาไดเมทโธเอท หรือ เมโธมิล อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

สรรพคุณ


ส่วนต่างๆ ของต้นราชพฤกษ์มีประโยชน์ดังนี้
  • ฝักแก่ เนื้อสีน้ำตาลดำและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้ โดยนำฝักมาต้มกับน้ำ และเติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง เมื่อนำฝักมาบดผสมน้ำแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน สารละลายที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้ ฝักแก่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจ มีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ต้องผ่า เลื่อยหรือตัด เนื้อของฝักแก่ใช้แทนกากน้ำตาลในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยาย
  • ฝักอ่อน สามารถใช้ขับเสมหะได้
  • ใบ สามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้
  • ดอก ช่วยแก้แผลเรื้อรัง ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยหล่อลื่นลำไส้ รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหาร
นอกจากนั้น ราชพฤกษ์ยังเป็นพืชที่มีฤทธิ์ทางอัลลีโลพาที สารสกัดจากฝักด้วยเอทานอลสามารถยับยั้งการเจริญของคะน้าได้

ความเชื่อ

ต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้มงคลนิยมใช้ประกอบพีธีที่สำคัญ เช่น พีธีเสาไม้หลักเมือง เป็นส่วนประกอบในการทำคฑาจอมพล และ ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ทำพิธีปลูกบ้าน ฯลฯ
คนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่า ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ ซึ่งความเป็นจริงคือทิศดังกล่าวจะได้รับแดดจัดตลอดช่วงบ่าย จึงควรปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ลดความร้อนและทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น
คนไทยในสมัยโบราณยังมีความเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราชพฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนาม

สัญลักษณ์ต้นราชพฤกษ์

วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2557

แผนที่ประเทศไทย


แผนที่ประเทศไทย 77 จังหวัด




ประเทศไทย ปัจจุบันแบ่งเป็น 77 จังหวัด 5 ภาค ได้แก่

1.ภาคกลาง-Central Thailand 19 จังหวัด

กรุงเทพมหานคร-Bangkok
กาญจนบุรี-Kanchanaburi
ฉะเชิงเทรา-Chachoengsao
ชัยนาท-Chainat
นครปฐม-Nakhon Pathom
นนทบุรี-Nonthaburi
ปทุมธานี-Pathum Thani
ประจวบคีรีขันธ์-Prachuap Khiri Khan
พระนครศรีอยุธยา-Phra Nakhon Si Ayutthaya
เพชรบุรี-Phetchaburi
ราชบุรี-Ratchaburi
ลพบุรี-Lopburi
สมุทรปราการ-Samut Prakan
สมุทรสงคราม-Samut Songkhram
สมุทรสาคร-Samut Sakhon
สระบุรี-Saraburi
สิงห์บุรี-Singburi
สุพรรณบุรี-Suphanburi
อ่างทอง-Ang Thong

2.ภาคเหนือ-Northern Thailand 17 จังหวัด

กำแพงเพชร-Kamphaeng Phet
เชียงราย-Chiang Rai
เชียงใหม่-Chiang Mai
ตาก-Tak
นครสวรรค์-Nakhon Sawan
น่าน-Nan
พะเยา-Phayao
พิจิตร-Phichit
พิษณุโลก-Phitsanulok
เพชรบูรณ์-Phetchabun
แพร่-Phrae
แม่ฮ่องสอน-Mae Hong Son
ลำปาง-Lampang
ลำพูน-Lamphun
สุโขทัย-Sukhothai
อุตรดิตถ์-Uttaradit
อุทัยธานี-Uthai Thani

3.ภาคอีสาน-Isaan-North Eastern Thailand 20 จังหวัด

กาฬสินธุ์-Kalasin
ขอนแก่น-Khon Kaen
ชัยภูมิ-Chaiyaphum
นครพนม-Nakhon Phanom
นครราชสีมา-Nakhon Ratchasima
บุรีรัมย์-Buriram
บึงกาฬ-Buengkan
มหาสารคาม-Maha Sarakham
มุกดาหาร-Mukdahan
ยโสธร-Yasothon
ร้อยเอ็ด-Roi Et
เลย-Loei
ศรีสะเกษ-Si Sa Ket
สกลนคร-Sakon Nakhon
สุรินทร์-Surin
หนองคาย-Nong Khai
หนองบัวลำภู-Nong Bua Lam Phu
อำนาจเจริญ-Amnat Charoen
อุดรธานี-Udon Thani
อุบลราชธานี-Ubon Ratchathani

4.ภาคใต้-Southern Thailand 14 จังหวัด

กระบี่-Krabi
ชุมพร-Chumphon
ตรัง-Trang
นครศรีธรรมราช-Nakhon Si Thammarat
นราธิวาส-Narathiwat
ปัตตานี-Pattani
พังงา-Phang Nga
พัทลุง-Phatthalung
ภูเก็ต-Phuket
ยะลา-Yala
ระนอง-Ranong
สงขลา-Songkhla
สตูล-Satun
สุราษฎร์ธานี-Surat Thani

5.ภาคตะวันออก-Eastern Thailand 7 จังหวัด

จันทบุรี-Chanthaburi
ชลบุรี-Chon Buri
ตราด-Trat
ระยอง-Rayong
นครนายก-Nakhon Nayok
สระแก้ว-Sa Kaeo
ปราจีนบุรี-Prachin Buri

อาหารประจำปรเทศไทย

 อาหารประจำชาติไทย




ต้มยำ กุ้ง (Tom Yam Goong) 
                        ต้มยำกุ้ง เป็นอาหารประเภทแกง เป็นอาหารคาวที่รับประทานกับข้าวสวย รับประทานกันทั่วทุกภาค
               ในประเทศเน้นรสชาติเปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก จะออกเค็มและหวานเล็กน้อย ชาวต่างชาติ จะรู้จักต้มยำ
               ในรูปของต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำชนิดอื่น ๆ โดยต้มยำจะใส่เนื้อสัตว์อะไรก็ได้ เช่น กุ้ง หมู ไก่ ปลา หัวปลา
               หรือจะไม่ใส่เนื้อสัตว์เลยก็ได้ ผักที่นิยมใส่มากที่สุดในต้มยำ  ได้แก่ ใบมะกรูด ตะไคร้ ข่า พริก ผักอื่น ๆ
               ที่นิยมใส่รองลงมาได้แก่ มะเขือเทศ เห็ดหูหนู เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า หัวปลี ใบผักชี ส่วนเครื่องปรุงที่จำ
         เป็นต้องใส่คือ มะนาว น้ำปลา น้ำตาล น้ำพริกเผา






ส้มตำ

             ส้มตำ เป็นอาหารคาวของไทยอย่างหนึ่ง มีต้นกำเนิดไม่แน่ชัดโดยน่าจะมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและ
ประเทศลาว



 ผัดไทย

        
ผัดไทยได้กลายมาเป็นอาหารที่รู้จักกัน แพร่หลายจนกระทั่งตั้งแต่ สมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 ท่านได้รณรงค์ให้คนไทยมารับประทานผัดไทย เนื่องจากผัดไทยเป็นอาหารที่นิยมมาก จึงหารับประทานง่าย มีขายทั่วไปและรสชาติอร่อย ร้านผัดไทยแต่ละร้าน จะมีสูตรวิธีการปรุงและเทคนิคเฉพาะตัวของแต่ละร้านที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งสืบทอดต่อกันมาหลายปี ถึงมีการกล่าวว่า ประเทศไทยมีสารพัดแกงซึ่งสามารถกินไม่ช้าแต่ละวัน แต่ผัดไทยก็เช่นกันมีวิธีการปรุงซึ่งไม่ซ้ำกันแต่ละร้านเช่นกันว่าไปแล้ว ถ้าจะต้องเลือก "ผัดไทย" มาเป็นอาหารประจําชาติไทย ได้นั้นถือว่า น่าภาคภูมิใจอย่างมาก เพราะอาหารไทยทุกชนิด ล้วนแต่อร่อยและมีเอกลักษณ์ และรสชาติที่โดดเด่น ยากในการตัดสินใจที่จะเลือก อาหารไทยบ่งบอกและเต็มไปด้วยศิลปะและวัฒนธรรมไทย จึงเป็นที่รักใคร่ และได้รับความนิยมแพร่หลายทั่วโลก ไม่แพ้ชาติไหนเลย




ขนมชั้น

   ขนมชั้น เป็นขนมไทย ที่ถือเป็น ขนมมงคล และจะต้อง หยอด ขนมชั้น ให้ได้ ชั้น เพราะ คนไทย มีความเชื่อ ว่าเลข เป็น เลขสิริมงคล หมายถึง ความเจริญก้าวหน้า และ ขนมชั้น ก็หมายถึงการได้ เลื่อนชั้น เลื่อยศถาบรรดาศักดิ์ ให้สูงส่งยิ่งๆ ขึ้นไป





ขนมหม้อแกง

เป็นขนมพื้นเมืองโบราณเก่าแก่ของเหล่าแม่ๆทั้งหลายที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ขนมหม้อแกงถูกพัฒนาไปหลายแบบเพื่อรองรับความต้องการของกลุ่มคนสมัยใหม่ อีกทั้งเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับตัวเอง  จึงมีสินค้าที่มีรสชาติและหน้าตาใหม่ๆ โดยอาจจะใส่เผือกหรือเมล็ดบัวลงไป เพื่อให้ขนมหม้อแกงมีรสชาติอร่อยมากขึ้นอีกด้วย

รายนามพระมหากษัตริย์ไทยและเครือญาติ

พระมหากษัตริย์ไทย

ลำดับพระนามขึ้นครองราชย์สิ้นสุดการครองราชย์
รัชกาลที่ 1Buddha Yodfa Chulaloke portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก6 เมษายน พ.ศ. 23257 กันยายน พ.ศ. 2352
รัชกาลที่ 2Buddha Loetla Nabhalai portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย7 กันยายน พ.ศ. 235221 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
รัชกาลที่ 3Nangklao portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว21 กรกฎาคม พ.ศ. 23672 เมษายน พ.ศ. 2394
รัชกาลที่ 4Rama4 portrait (cropped).jpgพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว6 เมษายน พ.ศ. 23941 ตุลาคม พ.ศ. 2411
รัชกาลที่ 5King Chulalongkorn.jpgพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว1 ตุลาคม พ.ศ. 241123 ตุลาคม พ.ศ. 2453
รัชกาลที่ 6King Vajiravudh.jpgพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว23 ตุลาคม พ.ศ. 245326 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
รัชกาลที่ 7Prajadhipok portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว26 พฤศจิกายน พ.ศ. 24682 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478)
(สละราชสมบัติ)
รัชกาลที่ 8Ananda Mahidol portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล2 มีนาคม พ.ศ. 2477 (2478)9 มิถุนายน พ.ศ. 2489
รัชกาลที่ 9Bhumibol Adulyadej portrait.jpgพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช9 มิถุนายน พ.ศ. 2489ยังอยู่ในราชสมบัติ


พระบรมราชินี

ลำดับพระนามเสกสมรสดำรงตำแหน่งพ้นจากตำแหน่ง
รัชกาลที่ 1HM Queen Amarindra.jpgสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีประมาณปี พ.ศ. 23036 เมษายน พ.ศ. 23257 กันยายน พ.ศ. 2352
(พระสวามีสวรรคต)
รัชกาลที่ 2Queen Sri Suriyendra.jpgสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีประมาณปี พ.ศ. 23447 กันยายน พ.ศ. 235221 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
(พระสวามีสวรรคต)
รัชกาลที่ 4Queen Debsirindra.jpgสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี1 เมษายน พ.ศ. 2394ประมาณ พ.ศ. 23969 กันยายน พ.ศ. 2404
(เสด็จสวรรคต)
รัชกาลที่ 5Queen Saovabha Phongsri.jpgสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
(สมเด็จพระบรมราชินีนาถ)
พ.ศ. 2421พ.ศ. 244023 ตุลาคม พ.ศ. 2453
(พระสวามีสวรรคต)
รัชกาลที่ 6Princess Indrasakdi Sachi.jpgสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินีพ.ศ. 2464พ.ศ. 246515 กันยายน พ.ศ. 2468
(ลดพระอิสริยยศเป็นพระวรราชชายา)[3]
รัชกาลที่ 7Queen Rambhai Barni of Siam.jpgสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีสิงหาคม พ.ศ. 246126 พฤศจิกายน พ.ศ. 24682 มีนาคม พ.ศ. 2478
(พระสวามีสละราชสมบัติ)
รัชกาลที่ 9Queen Sirikit In Russia 2007.jpgสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
(สมเด็จพระบรมราชินีนาถ)
28 เมษายน พ.ศ. 24935 พฤษภาคม พ.ศ. 2493ยังอยู่ในตำแหน่ง

กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

พระนามเมื่อสถาปนาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งหมายเหตุ
Maha Sura Singhanat.jpgสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทพ.ศ. 23253 พฤศจิกายน พ.ศ. 2346
สวรรคตก่อนได้รับราชสมบัติ
King Buddha Loetla Nabhalai.jpgสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฉิม
กรมหลวงอิศรสุนทร
พ.ศ. 23497 กันยายน พ.ศ. 2352
สืบราชสมบัติพระนามว่า
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
Emblem of the House of Chakri.svgสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์พ.ศ. 235216 กรกฎาคม พ.ศ. 2360
สวรรคตก่อนได้รับราชสมบัติ
Emblem of the House of Chakri.svgสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพพ.ศ. 23671 พฤษภาคม พ.ศ. 2375
สวรรคตก่อนได้รับราชสมบัติ
King Pinklao.jpgพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว25 พฤษภาคม พ.ศ. 23947 มกราคม พ.ศ. 2408
สวรรคตก่อนได้รับราชสมบัติ
Wichaichan.jpgกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญพ.ศ. 241128 สิงหาคม พ.ศ. 2428
ทิวงคตก่อนได้รับราชสมบัติ

กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข

พระนามเมื่อสถาปนาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งหมายเหตุ
Anurak Devesh.jpgสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์
กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข
พ.ศ. 232820 ธันวาคม พ.ศ. 2349
ทิวงคตก่อนได้รับราชสมบัติ

สยามมกุฎราชกุมาร

ลำดับพระนามเมื่อสถาปนาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งหมายเหตุ
Maha Vajirunhis.jpgสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร14 มกราคม พ.ศ. 24294 มกราคม พ.ศ. 2437
สวรรคตก่อนได้รับราชสมบัติ
King Vajiravudh portrait photograph.jpgสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมารพ.ศ. 243723 ตุลาคม พ.ศ. 2453
สืบราชสมบัติพระนามว่า
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
HRH Crown Prince Vajiralongkorn (Cropped).jpgสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร28 ธันวาคม พ.ศ. 2515ปัจจุบัน

สยามบรมราชกุมารี

ลำดับพระนามเมื่อสถาปนาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งหมายเหตุ
Princess Maha Chakri Sirindhorn 2010-12-7.jpgสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี5 ธันวาคม พ.ศ. 2520ปัจจุบัน

แผนผัง


 
 
 
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
(ทองดี)
 
 
 
สมเด็จพระราชชนนีดาวเรือง
(หยก)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
 
Monarch(1)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
(2279-2325-2352)
 
กรมพระศรีสุดารักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระศรีสุราลัย
 
Monarch(2)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(2310-2352-2367)
 
สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(3)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2330-2367-2394)
Monarch(4)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2347-2394-2411)
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2351-2394-2408)
 
 
 
 
 
 
 
 
กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(5)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2396-2411-2453)
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก
Monarch(6)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2424-2453-2468)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
 
 
Monarch(7)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(2436-2468-2478-2484)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
Monarch(8)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
(2468-2478-2489)
Monarch(9)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
(2470-2489-ปัจจุบัน)